โดย สัตวแพทย์หญิงรัชนี อัตถิ กลุ่มตรวจสอบชีววัตถุสำหรับสัตว์ กรมปศุสัตว์
วัคซีนเป็น เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและความคุ้มทุนสูงที่สุดในการป้องกัน ควบคุม และ กำจัดโรคระบาดสัตว์อันเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆได้แก่ ไวรัส แบคทีเรีย รวมทั้งโปรโตซัวหรือพยาธิต่างๆดังจะเห็นได้ว่าสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ไก่ จะต้องได้รับวัคซีนตั้งแต่แรกเกิดเมื่ออายุเพียง 1 วันเลยที เดียว เพื่อป้องกันโรคร้ายแรงที่มีระบาดอยู่ภายในประเทศ ได้แก่ โรคนิวคาส เซิล โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ ซึ่งหากไม่ได้รับวัคซีนก็จะมีผลทำให้ไก่ตาย และ มีการติดต่อของโรคแพร่ไปยังไก่ตัวอื่นในฝูงเดียวกันหรือที่อยู่ข้างเคียง เป็นผลให้เกิดความสูญเสียชีวิตสัตว์เป็นจำนวนมากและอย่างรวดเร็ว วัคซีนนอกจากมีบทบาทการเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการป้องกันควบคุมและกำจัดโรค ระบาดสัตว์แล้วตัววัคซีนเองจัดเป็นผลิตภัณฑ์หรือสินค้าชนิดหนึ่งที่มี มูลค่า ในปีหนึ่งๆ ประเทศไทยมีการใช้วัคซีนสัตว์ทั้งที่มีการผลิตในประเทศและที่ต้องนำเข้าจาก ต่างประเทศ รวมแล้วคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันล้านบาทจากสถิติมูลค่า การนำเข้าวัคซีนสำหรับสัตว์จากต่างประเทศในปี พ.ศ.2543 และ 2544 ของกรมศุลกากร พบว่ามีมูลค่าถึง 1,050,348,503 บาท และ 1,229,405,696 บาท ตามลำดับ สำหรับในปี พ.ศ.2545 ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคม มีมูลค่านำเข้าวัคซีนสำหรับสัตว์เป็นเงิน 822,810,265 บาท ซึ่งส่วนใหญ่นำ เข้าจากสหรัฐอเมริกา เนเธอแลนด์ และ ฝรั่งเศส อีกทั้งการใช้วัคซีนยังเป็นตัวชี้วัดการคงอยู่ของโรคติดต่อใน ประเทศบางโรคที่มีผลกระทบต่อกิจการการส่งออกสัตว์มีชีวิตและเนื้อสัตว์ทำให้ ไม่สามารถส่งออกสินค้าปศุสัตว์ไปยัง ต่างประเทศบางปะเทศได้
บทบาทวัคซีนในการป้องกัน ควบคุม และการกำจัดโรคระบาดสัตว์
ดังที่ได้กล่าวแล้วในตอนต้นว่าวัคซีนเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ และ ความคุ้มทุนสูงที่สุดในการป้องกันควบคุมและกำจัดโรคระบาดสัตว์ ดังนั้น การ ให้วัคซีนสัตว์จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งของแผนปฏิบัติการควบคุมโรคของกรมปศุสัตว์ ซึ่งมีหน้าที่ในด้านการปศุสัตว์ของประเทศ รับผิดชอบทั้งการป้องกันกำจัดโรค ระบาดสัตว์ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและการเพิ่มผลผลิตปศุสัตว์อย่างมี คุณภาพ เพื่อให้เพียงพอแก่การบริโภคของประชากรภายในประเทศและสามารถส่งไป จำหน่ายต่างประเทศได้ ในอดีตการปศุสัตว์ของประเทศไทยอาจมีความสำคัญในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ อาชีพเกษตรกรรมซึ่งการเลี้ยงสัตว์มีวัตถุปนระสงค์เพื่อการใช้งานและเป็น อาหารในครัวเรือน ได้แก่ โค กระบือ ถูกเลี้ยงไว้ใช้ในการ ไถนา ลากจูง หรือเป็นพาหนะหรือแม้กระทั่งเพื่อ เป็นอาหารสำหรับครอบครัวรวมถึงการเลี้ยงเป็ด ไก่ ใต้ถุนบ้าน ซึ่งเป็นการเลี้ยงสัตว์เพื่อการยังชีพแต่ปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์ มีการขยายตัว นอกจากเป็นการเลี้ยงเพื่อการยังชีพแล้ว ยังเป็นการเลี้ยงเพื่อ การค้าขายทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศด้วย ดังนั้น การใช้วัคซีนป้องกัน โรคสัตว์ก็มีการขยายตัวตามไปด้วยและมีบทบาทมากขึ้นนอกเหนือไปจากการป้องกัน โรคเพียงอย่างเดียว อีกทั้งยังมีข้อกำหนดต่างๆในการใช้วัคซีนตามมาด้วย เนื่องจากมีการเดินทางติดต่อการค้าระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง การติดต่อ ของโรคระบาดสัตว์ก็มีโอกาสสูง ดังนั้น จึงมีข้อกำหนดการใช้วัคซีนในประเทศมากขึ้น ซึ่งก็มีผลต่อการเลี้ยงสัตว์เช่นกัน
โรคระบาดสำคัญ
โรคระบาดสัตว์ที่สำคัญๆ หลายโรคซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะการส่งออก ได้แก่ โรคปากและเท้าเปื่อยในโค กระบือ และสุกร โรคอหิวาต์สุกร โรคนิวคาสเซิลในไก่ โรคระบาดสัตว์ที่สำคัญโรคหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมาก ได้แก่ โรคปากและเท้าเปื่อย ในโค กระบือ และสุกร เพราะเมื่อมีรายงานการเกิดโรคนี้ในประเทศใด ประเทศนั้นก็จะถูกตัด สิทธิ์ไม่ให้สามารถส่งสัตว์มีชีวิตหรือเนื้อสัตว์ออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ได้ โรคนี้จึงสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ของประเทศเป็น อย่างมาก ในแผนการกำจัดโรคระบาดสัตว์ของกรมปศุสัตว์ ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับโรคระบาดสัตว์หลายโรค ได้แก่ โรคอหิวาต์สุกร นิวคาสเซิลในไก่ ปากและเท้าเปื่อย ซัลโมเนลโลซิส บรูเซลโลซิส วัณโรค พาราทูเบอร์คูโลซิส เฮโมรายิกเซพติซีเมีย เลปโตสไปโรซิส พิษสุนัขบ้าเป็นต้น จะมีกิกรรมหรือมาตรการในการฉีดวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค อยู่เสมอนอกเหนือจากมาตรการอื่น เช่น การเฝ้าระวังโรค การเก็บสำรวจข้อมูลการรับรองมาตรฐานฟาร์ม การควบคุม การเคลื่อนย้ายสัตว์ ซึ่งการใช้กิจกรรมใดบ้างกับโรคต่างๆ ก็มีความแตกต่างกันขึ้นกับชนิดของโรคนั้นๆ
บทบาทวัคซีนต่อการส่งออกเนื้อสัตว์
การส่งออกเนื้อสัตว์ทั้งที่เป็นสัตว์มีชีวิตหรือเนื้อสดแช่แข็งเนื้อสัตว์ แปรรูป หรือผลิตภัณฑ์ของสัตว์ จะมีข้อกำหนดแตกต่างกันไปแต่ละประเทศซึ่งข้อกำหนดสำคัญจะเกี่ยวข้องกับ
1. การมีสารตกค้างที่ต้องห้ามอยู่ในเนื้อสัตว์ที่จะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ได้แก่ สารเร่งเนื้อแดง ยาซัลฟาเมธาซีนในเนื้อสุกร หรือสารไนโตรฟูแรนส์ในเนื้อไก่
2. การเป็นโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันการนำโรคสัตว์เข้าไปยังประเทศผู้ซื้อสินค้าผ่านทางเนื้อสัตว์หรือสินค้าปศุสัตว์นั้นๆ
ในที่นี้จะกล่าวในส่วนของการเป็นโรค ซึ่งวัคซีนเข้าไปมีบทบาทโดยตรงเท่า นั้น โดยจะขอยกตัวอย่างในสัตว์ที่มีการส่งออกเป็นจำนวนมากดังนี้
ไก่
โรคนิวคาสเซิล เป็นโรคติดต่อที่สำคัญของไก่ มีการระบาดและแพร่กระจายอย่าง รวดเร็ว ไก่ที่ได้รับเชื้อ ไวรัสมักมีอัตราการตายสูงอาจสูงถึง 100% เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ได้รับความเสีย หายมากและทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากโรคนี้จะเป็นอุปสรรค ที่สำคัญต่อการส่งออกเนื้อไก่ไปต่างประเทศ ซึ่งมีมูลค่ากว่าปีละ 2 หมื่นล้านบาท เนื่องจากประเทศผู้นำเข้าทุกประเทศ มีความเข้มงวดในการควบคุม โรคนิวคาสเซิลมาก โดยมีมาตรการที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดหากต้องการ ส่งเนื้อไก่ไปขายยังต่างประเทศต่างๆนั่นคือการใช้วัคซีน ป้องกันโรคนิวคาสเซิลในไก่เนื้อจะอนุญาตให้ใช้วัคซีนที่ผลิตจากเชื้อสเตรน ที่มีความรุนแรงน้อย หรือสเตรนในกลุ่มเลนโตเจนิก (Lentogenic) เท่านั้น เนื่องจากการใช้วัคซีนสเตรนที่มีความรุนแรงมากอาจจะทำมีการปน เปื้อนของเชื้อไวรัสในเนื้อไก่ได้ การเลี้ยงไก่จึงต้องมีการควบคุม ป้องกันโรคโดยมีโปรแกรมการให้วัคซีนที่เหมาะสมกรมปศุสัตว์เองก็มีการจัดทำ แผนปฏิบัติการควบคุมป้องกันและกำจัดโรคนิวคาสเซิลในสัตว์ปีกทั่วประเทศเพื่อ ให้ประเทศไทยลดการสูญเสียที่เกิดจากโรคนิวคาสเซิล และสามารถกำจัดโรคได้ในอนาคตและเป็นการส่งเสริมสินค้าปศุสัตว์เพื่อการส่ง ออกของประเทศ การผลิตวัคซีนนิวคาสเซิลภายในประเทศเองจึงต้องคำนึงถึงเชื้อพันธุ์ที่ใช้ เป็นเชื้อตั้งต้นของการผลิตวัคซีนด้วยเช่นกัน ว่าจะต้องผลิตจากเชื้อที่มีความรุนแรงน้อยเท่านั้น ซึ่งสามารถตรวจสอบกลับ ด้วยการวัดปริมาณไวรัสได้จากอวัยวะภายในของไก่ หากไม่ดำเนินการตามมาตรการ ข้อบังคับว่าด้วยการส่งออกเนื้อไก่ของนานาประเทศ ก็จะเกิดความเสีย หายอย่างมหาศาลจากการส่งออกเนื้อไก่ได้
สุกร
มีมูลค่าการส่งออกทั้งที่เป็นสุกรมีชีวิต สุกรพันธุ์เนื้อสุกรชำแหละ และ ผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรที่ ปรุงแต่งหรือแปรรูปมีมูลค่าเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 486 ล้านบาท ในระยะห้าปีที่ผ่านมา ปัญหาโรคปากและเท้าเปื่อยซึ่งเป็นที่รังเกียจของประเทศผู้นำเข้าสุกร มีแนวทางพัฒนาคือ การป้องกันและกำจัดโรค โดยการรณรงค์ฉีดวัคซีนให้ทั่วถึงและมีมาตรการเข้มงวดในการควบคุมการเคลื่อน ย้ายสัตว์และซากสัตว์ทั้งภายในและจากต่างประเทศ สร้างสถานภาพปลอดโรคระบาดใน พื้นที่เพาะที่มีความเหมาะสม หากสามารถแก้ไขปัญหาโรคระบาดที่สำคัญต่อการส่งออกได้ ก็จะมีแนวโน้มที่จะ สามารถเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้อีก เนื่องจากปัจจุบันยังมีข้อจำกัดในบาง ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น นอรเวย์ สวีเดน อังกฤษ ไอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และประเทศในทวีปอเทริกาเหนือและอเมริกากลาง ได้ห้ามการนำเข้าสัตว์ที่มีชีวิต ซากสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ของประเทศ ที่ยังมีการระบาดของโรคนี้อยู่ทำให้ประเทศสูญเสียโอกาสที่จะได้เงินตราต่าง ประเทศจากการส่งปศุสัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เป็นจำนวนมาก เช่น ประเทศญี่ปุ่น การส่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรจะต้อง ผ่านกระบวนการผลิตด้วยความร้อนตามข้อกำหนดของญี่ปุ่น ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ เฉพาะวิธีต้มหรือนึ่งเท่านั้น ทำให้มีข้อจำกัดการผลิตวัคซีนสัตว์ในประเทศ
กรมปศุสัตว์มีนโยบายด้านการผลิตวัคซีน สัตว์โดยมุ่งเน้นที่จะผลิตวัคซีนป้องกันโรคระบาดสัตว์ที่สำคัญ เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้วัคซีนที่ผลิตขึ้นเองภายในประเทศ ซึ่งมีคุณภาพเป็นที่น่าเชื่อถือ และมีราคาถูกกว่าการใช้วัคซีนนำเข้าจากต่าง ประเทศ เพื่อเป็นการลดต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่ง
องค์กรของรัฐที่ทำหน้าที่ในการผลิตวัคซีน
สำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์ (ชื่อเดิม กองผลิตชีวภัณฑ์) เป็นหน่วยงานรัฐแห่งเดียวในสังกัดกรมปศุสัตว์ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการ ผลิตวัคซีนป้องกันโรคระบาดสัตว์และสารทดสอบที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคสัตว์ที่ สำคัญตลอดจนการศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อปรับปรุงทั้งคุณภาพปริมาณและวิธีการผลิตให้ได้ตามเป้าหมายและความต้อง การของเกษตรกรผู้ใช้วัคซีนไม่ว่าจะเป็นวัคซีนที่กำลังผลิตอยู่หรือวัคซีน ชนิดใหม่ รวมทั้งให้เป็นแหล่งถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านชีวภัณฑ์ที่ผลิตให้แก่ หน่วยงานทั้งจากในและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน สำยนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์ถูกก่อตั้งและผลิตวัคซีนสำเร็จเป็นครั้งแรกใน ปี พ.ศ.2473 โดยเริ่มจากการผลิตวัคซีนป้องกันโรคระบาดร้ายแรงชนิดหนึ่ง คือ โรครินเดอร์เปสต์ หรือ อีกชื่อหนึ่งคือโรคลงแดงซึ่งเกิดการระบาดตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2469 ทำให้วัวควายล้มตายเป็นจำนวนมาก หลังจากที่มีการผลิตวัคซีนนี้ได้เองภายใน ประเทศและนำมาใช้ฉีดให้กับ วัว ควาย ที่ยังไม่ติดโรคก็สามารถควบคุมและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพจนกระทั่ง ในปัจจุบันสมารถกำจัดโรครินเดอร์เปสต์ให้หมดไปจากประเทศไทยได้สำเร็จนานกว่า 40 ปีแล้ว และไม่ต้องทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรครินเดอร์เปสต์ให้กับสัตว์อีกต่อ ไป
การปศุสัตว์ของประเทศมีการขยายตัวอย่างรวด เร็วในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมาเป็นที่ทราบว่าตราบใดที่มีการเลี้ยงสัตว์ตราบนั้นก็ยังต้องมี การใช้วัคซีนในการป้องกันโรคสัตว์ การผลิตของกรมปศุสัตว์จึงต้องขยายตัวตามไปด้วยจากอดีตที่มีการผลิตวัคซีน เพียง 1-2 ชนิด ผลิตวัคซีนป้องกันโรคสำหรับสัตว์ต่างๆ จำนวน 12 โรค และสารสำหรับทดสอบการเป็นโรค จำนวน 2 โรค รวมเป็นผลิตภัณฑ์ทั้งสิ้น 19 ชนิด ได้แก่
วัคซีนสำหรับ โค กระบือ แพะ แกะ 5 ชนิด
1.วัคซีนโรคบรูเซลโลซิส (โรคแท้งติดต่อ)
2.วัคซีนโรคแบลคเลก (โรคไข้ขา)
3.วัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อย
4.วัคซีนโรคแอนแทรกซ์
5.วัคซีนโรคเฮโมรายิกเซพติซีเมีย (โรคคอบวม)
วัคซีนสำหรับสุกร 2 ชนิด
1.วัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อย
2.วัคซีนโรคอหิวาต์สุกร
วัคซีนสำหรับสัตว์ปีก 8 ชนิด
1.วัคซีนโรคกัมโบโรชนิดเชื้อตาย
2. วัคซีนโรคกัมโบโรชนิดเป็น
3.วัคซีนโรคกาฬโรคเป็ด
4. วัคซีนดรคนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็น
5. วัคซีนโรคนิวคาสเซิลชนิดเชื้อตาย
6. วัคซีนโรคฝีดาษไก่
7. วัคซีนโรคหลอดลมอักเสบติดต่อในไก่
8. วัคซีนโรคอหิวาต์เป็ด-ไก่
แอนติเจนทดสอบโรค 4 ชนิด
1. แอนติเจนบรูเซลโลซิส ชนิดทดสอบในหลอดแก้ว
2. แอนติเจนบรูเซลโลซิส ชนิดทดสอบบนแผ่นกระจก
3.แอนติเจนบรูเซลโลซิส ชนิดโรสเบงกอล
4.แอนติเจนพัลโลรุ่ม
กรมปศุสัตว์ให้การสนับสนุนด้านการผลิต วัคซีนเพื่อเกษตรกรเป็นหลัก โดยในแต่ละปีจะใช้งบประมาณในการผลิตวัคซีนและ สารทดสอบโรคเหล่านี้ปีละไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินการโดยไม่หวังผลกำไรในเชิงพาณิชย์ ดังจะเห็นได้ จากวัคซีนสำหรับสัตว์ใหญ่ ได้แก่ โค กระบือ กรมปศุสัตว์จะดำเนินการฉีดวัคซีนให้เกษตรกรฟรี ส่วนวัคซีน ป้องกันโรคสัตว์อื่นก็จะขายโดยตั้งราคาจำหน่ายไว้ต่อทั้งนี้เพื่อสนองตอน นโยบายที่จะเสริมสร้างระบบป้องกันและควบคุมกำจัดโรคสัตว์ซึ่งจะนำไปสู่การ เพิ่มขีดความสามารถการผลิตสินค้าปศุสัตว์ให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก เป็นการ คุ้มครองผู้บริโภคภายในประเทศด้วย
โดยสรุปจะเห็นว่าวัคซีนมีบทบาทต่อการปศุสัตว์ ดังตาราง
บทบาท | ผล | ผลลัพธ์ที่ตามมา |
---|---|---|
ป้องกันโรค | ไม่เป็นโรค | ลดการสูญเสียจากการเป็นโรคป้องกันโรคจากประเทศเพื่อนบ้านลดต้นทุนการผลิตปศุสัตว์ |
ควบคุมโรค | ลดจำนวนสัตว์ติดโรค | ลดการสูญเสียจากการเป็นโรค |
กำจัดโรค | ปลอดโรคทั้งฟาร์มหรือพื้นที่นั้นๆหรือทั้งประเทศ | ลดค่าใช้จ่ายในการฉีดการผลิตหรือนำเข้าวัคซีนส่งออกเนื้อสัตว์ไปต่างประเทศได้ |
ขายวัคซีน ในประเทศ และต่างประเทศ | รายได้ | สนับสนุนการเลี้ยงปศุสัตว์เศรษฐกิจในประเทศดีขึ้น ลดการนำเข้าวัคซีน ลดการสูญเสียเงินราต่างประเทศ |
เทคโนโลยีด้านวัคซีนและการผลิตการพัฒนาเพื่อช่วยตนเอง การถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ และบุคคลทั่วไป | เทคโนโลยีการผลิตใหม่ วัคซีนชนิดใหม่ เพิ่มจำนวนผู้มีความรู้เกี่ยวกับวัคซีน | มีการพึ่งพาตนเอง ลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศจากการซื้อเทคโนโลยีหรือการนำเข้าวัคซีน |
ที่มา : รายงานประจำปี 2546 กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน้า 49-55